ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) พร้อมเคียงข้างลูกค้าทุกสถานการณ์ ออก 3 มาตรการช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 และปัญหา น้ำท่วม ในพื้นที่ภาคใต้ นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย กรรมการและผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ไอแบงก์พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภัยโควิด-19 และภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ โดยออกมาตรการ 3 มาตรการ เพื่อบรรเทาเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระให้กับลูกค้าก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน
มาตรการ 1 มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ (Debt Consolidation)
สำหรับลูกค้ารายย่อย (ไม่มีสถานะเป็น NPF ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563) โดยธนาคารจะปรับลดอัตรากำไรสินเชื่อเอนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันจากเดิม SPRR +12% ตลอดอายุสัญญา คิดอัตรากำไรใหม่ เท่ากับ SPRR ตามประกาศธนาคาร รวมถึงขยายระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่อเอนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันออกไปไม่เกิน 5 ปี จากสัญญาคงเหลือเดิม และไม่เกินระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้
มาตรการ 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ สำหรับลูกค้าธนาคารทั้งลูกหนี้อุปโภคบริโภค และลูกหนี้ธุรกิจ ซึ่งยังคงมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ธนาคารจะพักชำระหนี้เงินต้น และชำระเฉพาะกำไรนาน 1 ปี ขยายระยะเวลาสินเชื่อตามระยะเวลาพักชำระหนี้เงินต้น ยกเว้นเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระที่เกิดขึ้น และอาจจะให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมตามความรุนแรงของปัญหาเป็นรายกรณี
มาตรการ 3 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัยภาคใต้ ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงธนาคารจะพักชำระเงินต้นและกำไร ระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นพักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะกำไรอีก 6 เดือน ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมสำหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภค อัตรากำไร SPRR – 3.5% ต่อปี สำหรับสินเชื่อธุรกิจ อัตรากำไร SPRL – 2.75% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 5 ปี ฟรี ค่าธรรมเนียม Front end Fee และจัดทำนิติกรรมสัญญา ยกเว้นบุคคลค้ำประกัน การประเมินราคาหลักประกัน (กรณีเป็นสินเชื่อเดิมแบบมีหลักประกัน)
ส่วนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม พักชำระเงินต้น และชำระเฉพาะกำไรระยะเวลา 6 เดือน โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าร่วมมาตรการจะต้องเป็นลูกค้าเดิมของธนาคารที่เป็นบุคคลธรรมดาและมีสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน หรือนิติบุคคลที่มีสินเชื่อธุรกิจแบบกำหนดระยะเวลากับธนาคาร ซึ่งมีที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการ หรือคู่ค้าทางธุรกิจ อยู่ในพื้นที่ประสบภัยตามพื้นที่ประกาศของราชการ และมีสถานะการชำระหนี้เป็นปกติ
สำหรับลูกค้าธนาคารที่ประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการ สามารถติดต่อสอบถามและเข้าร่วมมาตรการ ได้ที่ไอแบงก์ สาขาที่ใช้บริการ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ibank Call Center 1302
อ้าวยังไง ถก เราชนะ แจกเงิน 3500 แค่ 28 จังหวัดพื้นที่สีแดง
เราชนะ 28 จังหวัด – รายงานความคืบหน้าโครงการ เราชนะ ล่าสุด หนึ่งในมาตรการเยียวยาโควิดระลอกใหม่ เป็นการแจกเงินเยียวยา 3,500 บาท 2 เดือน รอบเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกร ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แรงงานนอกระบบ และอาจรวมถึงผู้ได้สิทธิคนละครึ่งด้วย ซึ่งต้องรอกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนหลังการประชุม ครม. 13 มกราคม 2564 นี้
อย่างไรก็ดี สื่อหลายสำนัก วันนี้ได้รายงานว่า ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ กำลังถกเถียงหาหรือเกณฑ์การแจกอยู่ว่า จะเป็นการแจกเงินแบบยึดอาชีพ หรือ พื้นที่การระบาดของโควิด โดยหากแจกตามพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับเงิน 3,500 บาท แนวโน้มเป็น 28 จังหวัดพื้นที่สีแดง ซึ่งถือว่าครอบคลุมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
แต่ๆ ! อย่าเพิ่งตกใจไป แนวคิดดังกล่าวยังเป็นเพียงข้อถกเถียง ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอน ต้องรอการประชุม ครม. สัปดาห์หน้าว่าว่างบประมาณที่ตั้งไว้ 2 แสนล้านนั้นจะแจกแบบไหน
นายพิศิษฐ์ ได้กล่าวว่า “มาตรการช่วยเหลือของ EXIM BANK ในครั้งนี้เพื่อเยียวยาและบรรเทาผลกระทบให้แก่ลูกค้าที่อาจประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบหรือขาดแคลนแรงงานสำหรับผลิตสินค้า เนื่องจากการกักตัวหรือติดเชื้อ เป็นไปตามมาตรการภาครัฐเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการขนส่งและส่งออกสินค้า ตลอดจนปัญหาผู้ซื้อปฏิเสธสินค้าโดยเฉพาะสินค้าอาหาร อาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้ของไทย เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เพื่อรอโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสินค้าส่งออกของไทย ภายหลังการพัฒนาวัคซีนมีความคืบหน้าไปมาก”
ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยทางทีมผู้วิจัยหวังว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงการตรวจได้ง่าย ทำให้หน่วยงานของรัฐสามารถวางแผนมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมทั้งสังคม และเศรษฐกิจของประเทศชาติในทุกๆ ด้านอีกด้วย
โดยใช้พลังปัญญาของผู้สูงวัยมาแนะนำแนวทางและนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดูแลตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยในช่วงวิกฤติ COVID-19 ตลอดจนจัดอบรมระยะสั้นออนไลน์นานาชาติเพื่อรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ฯลฯ
ซึ่งการสาธารณสุขมูลฐานในโลกยุคใหม่ มีความสำคัญโดยถือเป็นเครื่องมือ กลไก และหลักการอันเป็นบันไดขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ระบบสุขภาพของทุกประเทศมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพสู่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง